โฉนดที่ดินเป็นเอกสารราชการที่ข้อมูลระบุไว้อย่างละเอียด ซึ่งทำให้เราสามารถทราบถึงข้อมูลต่างๆ
เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์, ตำแหน่งที่ตั้งที่ดิน, ขนาดที่ดิน, รูปแผนที่ของที่ดิน, สภาพที่ดินโดยคร่าว,
ขนาดหน้ากว้างที่ดิน, นิติกรรมต่างๆที่เคยจดทะเบียน รวมไปถึงข้อจำกัดของที่ดินแปลงนี้
หากรู้ วิธีอ่านโฉนดที่ดิน อ่านโฉนดอย่างรอบครอบจะช่วยลดความเสียหายในการทำนิติกรรมต่างๆกับที่ดิน
เช่นการซื้อขายที่ดินแล้วชำระราคาให้แก่บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ, หรือทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินผิดแปลง,
การซื้อที่ดินที่ติดข้อจำกัดต่าง หรือแม้กระทั้งซื้อที่ดินตาบอด ดังนั้นการอ่านโฉนดเป็นจึงมีประโยชน์มาก
เรามาดู วิธีอ่านโฉนดที่ดิน กันเลยดีกว่าค่ะ

บนโฉนดที่ดิน บอกอะไรบ้าง

1.ครุฑ
ครุฑในเอกสารสิทธินั้นมีหลายสี ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของเอกสารสิทธิ รวมไปถึงสิทธิที่พึงจะมีในที่ดินแปลงดังกล่าว (https://property4cash.co/articles/1325/)

  1. ข้อมูลเฉพาะของที่ดิน แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ประกอบด้วย

ฝั่งบนด้านซ้าย ตำแหน่งที่ดิน
– ระวางที่ดิน เป็นการระบุหมายเลขแผ่นของระวางแผนที่ ว่าที่ดินอยู่บนระวางแผนที่แผ่นไหน
โดยสำนักงานที่ดินจะมีระวางที่ดิน ซึ่งเป็นแผนที่ของที่ดินทุกแปลงเทียบอยู่บนแผนที่ทางอากาศ
ทำให้สามารถทราบได้ว่าที่ดินนั้นมีเขตติดต่อกับที่ดินแปลงใด มีทางออกสู่ถนนหรือคลองสาธารณะหรือไม่
– เลขที่ดิน  เป็นหมายเลขซึ่งใช้ระบุที่ดินแต่ละแปลงในระวางที่ดิน
– หน้าสำรวจ  เป็นตัวเลขที่แสดงลำดับการออกสำรวจจัดทำโฉนดที่ดินในแต่ละตำบล หมายเลข
หน้าสำรวจนี้จะใช้ประกอบการค้นหาข้อมูลของเจ้าพนักงานที่ดิน
– ตำบล ใช้ระบุตำบลที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่

ฝั่งบนด้านขวา โฉนดที่ดิน
– เลขที่ เปรียบเสมือนเลขประจำตัวของที่ดินแปลงนั้นๆ ใช้ระบุแปลงที่ดิน
และใช้เป็นเลขอ้างอิงในการทำธุรกรรมหรือนิติกรรมต่างๆ
– เล่ม และหน้า เป็นการระบุเล่มและแฟ้มในการจัดเก็บโฉนดที่ดินคู่ฉบับที่ถูกเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน
– อำเภอ ใช้ระบุอำเภอที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่
– จังหวัด ใช้ระบุจังหวัดที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่

  1. โฉนดที่ดิน ตำแหน่งกลางด้านบน
    3.1 ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของโฉนดคนแรกที่ทางราชการได้ออกโฉนดให้
    เน้นย้ำชื่อตรงนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจุบัน
    (ชื่อเจ้าของคนปัจจุบันจะอยู่ด้านหลังโฉนดตรงสารบัญจดทะเบียน)
    3.2 ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่ประมาณ………ไร่…….งาน…………ตารางวา เป็นการระบุขนาดของที่ดิน
    ณ วันที่ออกโฉนดที่ดินแปลงนั้น ทั้งนี้ขนาดของที่ดินอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากการแบ่งแยกแปลงที่ดินในภายหลัง
  2. รูปแผนที่ ตำแหน่งกลาง ตรงจุดนี้ที่จะต้องดูมีทั้งหมด
    4.1 มาตราส่วนในระวาง เป็นการระบุมาตราส่วนของรูปแผนที่ที่ถูกแสดงในระวางที่ดิน
    4.2 มาตราส่วน เป็นการระบุมาตราส่วนของรูปแผนที่ที่ถูกแสดงในโฉนดที่ดิน
    4.3 สัญลักษณ์ทิศเหนือ เป็นการระบุทิศเหนือเพื่อใช้ในการดูทิศของรูปแผนที่
    4.4 เลขที่ดินข้างเคลียง ใช้เพื่ออ้างอิงว่าที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของตามโฉนดที่ดินฉบับนี้คือที่ดินแปลงใด
    4.5 เลขที่ดิน ใช้เพื่อระบุที่ดินแปลงที่ดินตามโฉนดที่ดินฉบับนี้ จะสังเกตได้ว่าเลขที่ดินซึ่งเป็นเลขที่ดินตามโฉนดฉบับนี้จะแสดงอยู่ในกรอบเส้นที่แสดงขอบเขตที่ดิน
    4.6 ทางสาธารณะประโยชน์ หรือลำรางสาธารณะประโยชน์  ใช้ระบุว่าที่ดินของตามโฉนดที่ดินฉบับนี้ติดกับทางสาธารณะประโยชน์ หรือลำรางสาธารณะประโยชน์ จากขอบเขตที่ดินในด้านใดบ้าง
    4.7 หมายเลขหมุดเลขที่ดิน ใช้ในการอ้างอิงหมุดเขตที่ดินที่ถูกฝังลงในแปลงที่ดินจริงๆ โดยหมุดเขตที่ถูกฝั่งในแปลงที่ดินจริงจะเป็นตัวกำหนดอาณาเขตที่ดินแปลงนั้น ทั้งนี้หมุดที่ดินในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ แบบแท่งคอนกรีต กับแบบแผ่นทองเหลือง
  3. วันที่ออกโฉนด
    เป็นการระบุวันที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกเอกสารสิทธินี้ เราจึงสามารถคำนวนอายุของที่ดินแปลงนี้ได้ว่าได้ถูกออกโฉนดมานานเท่าไหร่แล้ว

หลังจากดูโฉนดที่ดินด้านหน้าแล้ว มาต่อกันที่ด้านหลังของโฉนดที่ดินกันเลยค่ะ
ด้านหลังของโฉนดที่ดินจะมีข้อมูลที่เรียกว่า “สารบัญการจดทะเบียน”
ซึ่งการทำนิติกรรมใดๆกับอสังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายระบุให้ต้องทำการจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน
หากไม่ทำการจดทะเบียนจะถือว่านิติกรรมนั้นๆเป็นโมฆะ ไม่สามารถบังคับแก่กันได้
เมื่อคุณทำการจดทะเบียนนิติกรรมใดๆกั บเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นซื้อขาย ให้ โอนมรดก
จำนอง ขายฝาก จดภาระจำยอมฯ เจ้าหน้าที่จะของโฉนดที่ดินของคุณไปทำการสลักหลังนิติกรรม
ที่ได้จดทะเบียนในวันนั้นๆ ดังนั้นหากคุณต้องการทราบว่าที่ดินแปลงนี้เคยถูกจดทะเบียนนิติกรรมอะไรมาบ้าง

แล้วก็สามารถอ่านดูจากหลังโฉนดได้เลยค่ะ

โดยจะต้องดูทั้งหมด 9 ส่วนได้แก่

  1. จดทะเบียน วัน เดือน ปี
    เป็นวันที่ที่ทำนิติกรรมนั้นๆ ณ สำนักงานที่ดิน
  2. ประเภทการจดทะเบียน
    ระบุประเภทนิติกรรมที่มาทำ ณ สำนักงานที่ดินในวันนั้นๆ อาทิเช่น ซื้อ, ขาย, ปลอดจำนอง, จำนอง, การให้, โอนมรดก, ภาระจำยอม เป็นต้น
  3. ผู้ให้สัญญา
    คือ ผู้ที่มาทำการจดให้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมนั่นเอง
  4. ผู้รับสัญญา
    คือ ผู้ที่มารับสัญญาต่อ หรืออาจกล่าวได้ว่า คือเจ้าของกรรมสิทธิ์คนใหม่
  5. เนื้อที่ดินตามสัญญา เป็นเนื้อที่ดินตามโฉนด ในการทำนิติกรรมสัญญาในวันนั้น
  6. เนื้อที่ดินคงเหลือ
  7. เป็นพื้นที่ที่ดินในโฉนด หน่วยเป็นไร่ งาน ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่ดินคงเหลือของโฉนดแปลงนี้ในปัจจุบัน ณ วันทำสัญญา
  8. เจ้าพนักงานที่ดินลงลายมือชื่อ ประทับตรา
    ในการทำนิติกรรมสัญญาในแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่รับเรื่องจะต้องลงชื่อและประทับตราราชการระบุไว้ทุกครั้ง
  9. มีใบต่อแผ่นที่….
    ในกรณีที่โฉนดที่ดิน มีการโอน/เปลี่ยนชื่อผู้ถือครอง มาหลายครั้งแล้ว หน้าสารบัญจดทะเบียน
    มีการจดทะเบียนหลายครั้ง อาจทำให้จดทะเบียนไม่เพียงพอให้หน้าเดี่ยว จะมีการเพิ่มหน้าจดทะเบียนไปอีก
    ซึ่งจะมีการระบุเลขหน้าที่ตำแหน่งนี้

ทั้งหมดนี้คือการอ่านโฉนดที่ดินทั้งหมดค่ะ อาจจะดูเยอะ และละเอียดไปนิดหน่อย แต่หากเราตรวจสอบดูอย่างรอบคอบแลระมัดระวังแล้ว รับรองได้เลยค่ะว่าไม่มีปัญหาตามมาแน่นอน

 

—————————————————————————————–

หากๆ เพื่อยังมีข้อสงสัย ทีม Landthaimart ยินดีให้คำปรึกษา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

inbox : m.me/105963835437530

Line@ : https://lin.ee/Nxmbdbc

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://landthaimart.com/articles/

#LandThaiMarket #รับซื้อที่ดินอย่างมืออาชีพ  #LandThaiMarket

#ที่ดิน #ที่ดินทำเลสวย #จำนองที่ดิน #ที่ดินแลกเงิน #รับซื้อที่ดิน

#อสังหาทรัพย์ #ลงทุนอสังหา #ตลาดที่ดิน #บ้านที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน

#ที่ดินราคาถูก #ที่ดินกรุงเทพ #นายหน้าที่ดิน #ที่ดินใกล้กรุงเทพ  #ต้องการที่ดิน