อีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยม
ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เลยก็คือการ “ขายฝาก”
บางคนอาจจะคุ้นชินกับคำนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว
แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก เคยได้ยินเพียงแต่
คำว่า “จำนอง” เท่านั้น
.
แล้วถ้าเราอยากเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินด่วนแบบนี้ การจำนองหรือขายฝาก
จะตอบโจทย์เรามากกว่ากันล่ะ เรามาดูกันก่อนว่าสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร
#จำนอง นั้นหมายถึง การทำนิติกรรมที่เรานำเอาทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ ไปค้ำประกันกับผู้รับจำนอง
เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่งออกมา โดยที่ผู้รับจำนอง จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด
ซึ่งหากเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ให้ศาลออกหมายบังคับคดี นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้
.
ส่วน #ขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมที่เรานำเอาอสังหาฯ ไปให้ผู้รับซื้อฝาก
เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง โดยที่ผู้รับฝากก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน
แต่ความแตกต่างระหว่างการขายฝาก กับการจำนอง ก็คือ
กรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเสร็จสิ้น
แต่ผู้ขายฝาก จะยังมีโอกาสไถ่ถอนคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
หากเวลาผ่านไปจนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้ว ไม่นำเงินมาไถ่ถอน หรือซื้อคืน
ก็จะถูกยึดทรัพย์ได้เลยทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้องขึ้นศาลใดๆ
.
ทั้งนี้ความแตกต่างของนิติกรรมทั้งสองแบบนั้นเราขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้
#กรรมสิทธิ์
📌 การขายฝากกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันทำสัญญา
และสามารถไถ่ถอนคืนได้ในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
📌การจำนองเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังเป็นเจ้าของเดิม ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้
หากผู้มาจำนองผิดสัญญาจะต้องยื่นฟ้องร้อง
#วงเงิน
📌การขายฝากวงเงินจะขึ้นอยู่ 50-60% ของราคาซื้อขายในท้องตลาด
📌การจำนองจะอยู่ที่ไม่เกิน 30-40% ของราคาซื้อขายในท้องตลาด
#อัตราดอกเบี้ย
📌การขายฝากและการจำนองอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
#ระยะเวลาไถ่ถอน
📌การขายฝาก มีระยะเวลาตามที่ตกลงกันในสัญญาแต่ต้องไม่เกิน 10 ปี
📌การจำนอง ไม่มีอายุความ แต่มีระบุระยะเวลาการชำระหนี้ตามที่ตกลง
.
สรุปแล้ว หากลูกค้าต้องการเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินขายฝากหรือจำนองจะดีกว่ากัน
ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น
#อยากได้วงเงินสูง การขายฝากจะตอบโจทย์ที่สุดเพราะสามารถตกลงวงเงินได้
#เลี่ยงความเสี่ยงในการโดนยึดทรัพย์ การจำนองกรรมสิทธิ์ของทรัพย์จะยังเป็นของคุณ
แม้ว่าทำสัญญาไปแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าคุณจะผิดสัญญาก็ยังไม่สามารถยึดทรัพย์
ได้ทันทีจะต้องผ่านกระบวนการฟ้องร้องก่อน
.
อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินไม่ว่าในรูปแบบไหน ก็ต้องทำความเข้าใจ
ศึกษารายละเอียด และประเมินความเสี่ยงที่จะขึ้นได้ให้รอบคอบที่สุด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง
——————————————————————————————
หากๆ เพื่อยังมีข้อสงสัย ทีม Landthaimart ยินดีให้คำปรึกษา
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
inbox : m.me/105963835437530
Line@ : https://lin.ee/Nxmbdbc
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://landthaimart.com/articles/
#LandThaiMarket #รับซื้อที่ดินอย่างมืออาชีพ #LandThaiMarket
#ที่ดิน #ที่ดินทำเลสวย #จำนองที่ดิน #ที่ดินแลกเงิน #รับซื้อที่ดิน
#อสังหาทรัพย์ #ลงทุนอสังหา #ตลาดที่ดิน #บ้านที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน
#ที่ดินราคาถูก #ที่ดินกรุงเทพ #นายหน้าที่ดิน #ที่ดินใกล้กรุงเทพ #ต้องการที่ดิน