โฉนดที่ดินเป็นเอกสารราชการที่ข้อมูลระบุไว้อย่างละเอียด ซึ่งทำให้เราสามารถทราบถึงข้อมูลต่างๆ
เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์, ตำแหน่งที่ตั้งที่ดิน, ขนาดที่ดิน, รูปแผนที่ของที่ดิน, สภาพที่ดินโดยคร่าว,
ขนาดหน้ากว้างที่ดิน, นิติกรรมต่างๆที่เคยจดทะเบียน รวมไปถึงข้อจำกัดของที่ดินแปลงนี้
หากรู้ วิธีอ่านโฉนดที่ดิน อ่านโฉนดอย่างรอบครอบจะช่วยลดความเสียหายในการทำนิติกรรมต่างๆกับที่ดิน
เช่นการซื้อขายที่ดินแล้วชำระราคาให้แก่บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ, หรือทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินผิดแปลง,
การซื้อที่ดินที่ติดข้อจำกัดต่าง หรือแม้กระทั้งซื้อที่ดินตาบอด ดังนั้นการอ่านโฉนดเป็นจึงมีประโยชน์มาก
เรามาดู วิธีอ่านโฉนดที่ดิน กันเลยดีกว่าค่ะ
บนโฉนดที่ดิน บอกอะไรบ้าง
1.ครุฑ
ครุฑในเอกสารสิทธินั้นมีหลายสี ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของเอกสารสิทธิ รวมไปถึงสิทธิที่พึงจะมีในที่ดินแปลงดังกล่าว (https://property4cash.co/articles/1325/)
- ข้อมูลเฉพาะของที่ดิน แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ประกอบด้วย
ฝั่งบนด้านซ้าย ตำแหน่งที่ดิน
– ระวางที่ดิน เป็นการระบุหมายเลขแผ่นของระวางแผนที่ ว่าที่ดินอยู่บนระวางแผนที่แผ่นไหน
โดยสำนักงานที่ดินจะมีระวางที่ดิน ซึ่งเป็นแผนที่ของที่ดินทุกแปลงเทียบอยู่บนแผนที่ทางอากาศ
ทำให้สามารถทราบได้ว่าที่ดินนั้นมีเขตติดต่อกับที่ดินแปลงใด มีทางออกสู่ถนนหรือคลองสาธารณะหรือไม่
– เลขที่ดิน เป็นหมายเลขซึ่งใช้ระบุที่ดินแต่ละแปลงในระวางที่ดิน
– หน้าสำรวจ เป็นตัวเลขที่แสดงลำดับการออกสำรวจจัดทำโฉนดที่ดินในแต่ละตำบล หมายเลข
หน้าสำรวจนี้จะใช้ประกอบการค้นหาข้อมูลของเจ้าพนักงานที่ดิน
– ตำบล ใช้ระบุตำบลที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่
ฝั่งบนด้านขวา โฉนดที่ดิน
– เลขที่ เปรียบเสมือนเลขประจำตัวของที่ดินแปลงนั้นๆ ใช้ระบุแปลงที่ดิน
และใช้เป็นเลขอ้างอิงในการทำธุรกรรมหรือนิติกรรมต่างๆ
– เล่ม และหน้า เป็นการระบุเล่มและแฟ้มในการจัดเก็บโฉนดที่ดินคู่ฉบับที่ถูกเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน
– อำเภอ ใช้ระบุอำเภอที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่
– จังหวัด ใช้ระบุจังหวัดที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่
- โฉนดที่ดิน ตำแหน่งกลางด้านบน
3.1 ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของโฉนดคนแรกที่ทางราชการได้ออกโฉนดให้
เน้นย้ำชื่อตรงนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจุบัน
(ชื่อเจ้าของคนปัจจุบันจะอยู่ด้านหลังโฉนดตรงสารบัญจดทะเบียน)
3.2 ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่ประมาณ………ไร่…….งาน…………ตารางวา เป็นการระบุขนาดของที่ดิน
ณ วันที่ออกโฉนดที่ดินแปลงนั้น ทั้งนี้ขนาดของที่ดินอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากการแบ่งแยกแปลงที่ดินในภายหลัง - รูปแผนที่ ตำแหน่งกลาง ตรงจุดนี้ที่จะต้องดูมีทั้งหมด
4.1 มาตราส่วนในระวาง เป็นการระบุมาตราส่วนของรูปแผนที่ที่ถูกแสดงในระวางที่ดิน
4.2 มาตราส่วน เป็นการระบุมาตราส่วนของรูปแผนที่ที่ถูกแสดงในโฉนดที่ดิน
4.3 สัญลักษณ์ทิศเหนือ เป็นการระบุทิศเหนือเพื่อใช้ในการดูทิศของรูปแผนที่
4.4 เลขที่ดินข้างเคลียง ใช้เพื่ออ้างอิงว่าที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของตามโฉนดที่ดินฉบับนี้คือที่ดินแปลงใด
4.5 เลขที่ดิน ใช้เพื่อระบุที่ดินแปลงที่ดินตามโฉนดที่ดินฉบับนี้ จะสังเกตได้ว่าเลขที่ดินซึ่งเป็นเลขที่ดินตามโฉนดฉบับนี้จะแสดงอยู่ในกรอบเส้นที่แสดงขอบเขตที่ดิน
4.6 ทางสาธารณะประโยชน์ หรือลำรางสาธารณะประโยชน์ ใช้ระบุว่าที่ดินของตามโฉนดที่ดินฉบับนี้ติดกับทางสาธารณะประโยชน์ หรือลำรางสาธารณะประโยชน์ จากขอบเขตที่ดินในด้านใดบ้าง
4.7 หมายเลขหมุดเลขที่ดิน ใช้ในการอ้างอิงหมุดเขตที่ดินที่ถูกฝังลงในแปลงที่ดินจริงๆ โดยหมุดเขตที่ถูกฝั่งในแปลงที่ดินจริงจะเป็นตัวกำหนดอาณาเขตที่ดินแปลงนั้น ทั้งนี้หมุดที่ดินในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ แบบแท่งคอนกรีต กับแบบแผ่นทองเหลือง - วันที่ออกโฉนด
เป็นการระบุวันที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกเอกสารสิทธินี้ เราจึงสามารถคำนวนอายุของที่ดินแปลงนี้ได้ว่าได้ถูกออกโฉนดมานานเท่าไหร่แล้ว
หลังจากดูโฉนดที่ดินด้านหน้าแล้ว มาต่อกันที่ด้านหลังของโฉนดที่ดินกันเลยค่ะ
ด้านหลังของโฉนดที่ดินจะมีข้อมูลที่เรียกว่า “สารบัญการจดทะเบียน”
ซึ่งการทำนิติกรรมใดๆกับอสังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายระบุให้ต้องทำการจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน
หากไม่ทำการจดทะเบียนจะถือว่านิติกรรมนั้นๆเป็นโมฆะ ไม่สามารถบังคับแก่กันได้
เมื่อคุณทำการจดทะเบียนนิติกรรมใดๆกั บเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นซื้อขาย ให้ โอนมรดก
จำนอง ขายฝาก จดภาระจำยอมฯ เจ้าหน้าที่จะของโฉนดที่ดินของคุณไปทำการสลักหลังนิติกรรม
ที่ได้จดทะเบียนในวันนั้นๆ ดังนั้นหากคุณต้องการทราบว่าที่ดินแปลงนี้เคยถูกจดทะเบียนนิติกรรมอะไรมาบ้าง
แล้วก็สามารถอ่านดูจากหลังโฉนดได้เลยค่ะ
โดยจะต้องดูทั้งหมด 9 ส่วนได้แก่
- จดทะเบียน วัน เดือน ปี
เป็นวันที่ที่ทำนิติกรรมนั้นๆ ณ สำนักงานที่ดิน - ประเภทการจดทะเบียน
ระบุประเภทนิติกรรมที่มาทำ ณ สำนักงานที่ดินในวันนั้นๆ อาทิเช่น ซื้อ, ขาย, ปลอดจำนอง, จำนอง, การให้, โอนมรดก, ภาระจำยอม เป็นต้น - ผู้ให้สัญญา
คือ ผู้ที่มาทำการจดให้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมนั่นเอง - ผู้รับสัญญา
คือ ผู้ที่มารับสัญญาต่อ หรืออาจกล่าวได้ว่า คือเจ้าของกรรมสิทธิ์คนใหม่ - เนื้อที่ดินตามสัญญา เป็นเนื้อที่ดินตามโฉนด ในการทำนิติกรรมสัญญาในวันนั้น
- เนื้อที่ดินคงเหลือ
- เป็นพื้นที่ที่ดินในโฉนด หน่วยเป็นไร่ งาน ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่ดินคงเหลือของโฉนดแปลงนี้ในปัจจุบัน ณ วันทำสัญญา
- เจ้าพนักงานที่ดินลงลายมือชื่อ ประทับตรา
ในการทำนิติกรรมสัญญาในแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่รับเรื่องจะต้องลงชื่อและประทับตราราชการระบุไว้ทุกครั้ง - มีใบต่อแผ่นที่….
ในกรณีที่โฉนดที่ดิน มีการโอน/เปลี่ยนชื่อผู้ถือครอง มาหลายครั้งแล้ว หน้าสารบัญจดทะเบียน
มีการจดทะเบียนหลายครั้ง อาจทำให้จดทะเบียนไม่เพียงพอให้หน้าเดี่ยว จะมีการเพิ่มหน้าจดทะเบียนไปอีก
ซึ่งจะมีการระบุเลขหน้าที่ตำแหน่งนี้
ทั้งหมดนี้คือการอ่านโฉนดที่ดินทั้งหมดค่ะ อาจจะดูเยอะ และละเอียดไปนิดหน่อย แต่หากเราตรวจสอบดูอย่างรอบคอบแลระมัดระวังแล้ว รับรองได้เลยค่ะว่าไม่มีปัญหาตามมาแน่นอน
—————————————————————————————–
หากๆ เพื่อยังมีข้อสงสัย ทีม Landthaimart ยินดีให้คำปรึกษา
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
inbox : m.me/105963835437530
Line@ : https://lin.ee/Nxmbdbc
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://landthaimart.com/articles/
#LandThaiMarket #รับซื้อที่ดินอย่างมืออาชีพ #LandThaiMarket
#ที่ดิน #ที่ดินทำเลสวย #จำนองที่ดิน #ที่ดินแลกเงิน #รับซื้อที่ดิน
#อสังหาทรัพย์ #ลงทุนอสังหา #ตลาดที่ดิน #บ้านที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน
#ที่ดินราคาถูก #ที่ดินกรุงเทพ #นายหน้าที่ดิน #ที่ดินใกล้กรุงเทพ #ต้องการที่ดิน