ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อบ้านหรือที่ดิน เราต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่า โฉนดที่ดิน มีกี่ประเภท
ซึ่งในปัจจุบันที่ดินถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากๆ
มีทั้งแบบเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกสารสิทธิที่ดิน
หรือแบบที่คนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย
และแบบที่รัฐออกสิทธิ์ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตรงนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ครอบครองซื้อขายกันได้
ซึ่งความแตกต่างของสิทธิ์นี้จะระบุในโฉนดที่ดินทั้งหมด
บางคนอาจไม่ได้สังเกตุจึงทำให้เข้าใจผิดเกิดเป็นข้อพิพาทฟ้องร้องกันได้
เพื่อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินแบบไหนสามารถซื้อขายกันได้
เราจะรวบรวมข้อมูลโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ กัน
ทำความรู้จักโฉนดที่ดิน
โฉนดที่ดินที่เราเรียกกันบ่อยๆ คือ หนังสือสำคัญที่มีไว้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินออกให้โดยกรมที่ดิน
ผู้ที่มีโฉนดที่ดินจะถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ระบุไว้ในเอกสาร
และมีอำนาจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามพื้นที่ ที่ระบุในโฉนดที่ดินนั้น
ซึ่งโฉนดที่ดินมีหลายประเภทและมีกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันไป
เช่น บางชนิดสามารถซื้อขายได้ บางชนิดไม่สามารถซื้อขายได้
โดยสังเกตได้จากสีของตราครุฑ และรหัสเอกสารด้านบนขวา
โฉนดที่ดิน สามารถแบ่งเป็น 7 ประเภท
- โฉนดที่ดิน นส.4 หรือตราครุฑสีแดง
โฉนดที่ดินแบบนี้ ผู้ครอบครองมีกรรมสิทธิ์เต็มที่ในการใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เป็นโฉนดที่ดินที่แสดงกรรมสิทธิ์ชัดเจน ทำให้โฉนดที่ดินประเภทนี้เป็นที่นิยมในการซื้อขายมากที่สุด
- เอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ก. หรือตราครุฑเขียว
เป็นเอกสารที่แสดงสิทธิในการทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้นๆ แต่ไม่มีกรรมสิทธิครอบครอง
จะต้องมีการทำระวางรูปถ่ายทางอากาศและต้องมีการรังวัดจัดทำแผนที่แล้วเท่านั้น สามารถซื้อขาย จดจำนองได้
แต่ผู้ครอบครองโฉนดนี้สามารถยื่นขอเปลี่ยนโฉนดตราครุฑเขียวเป็นโฉนดนส.4 ได้เลย
โดยไม่ต้องไม่ต้องรองรังวัดและติดประกาศ 30 วัน
- เอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ข. หรือตราครุฑดำ
เป็นเอกสารที่แสดงสิทธิการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินนั้นๆ แต่ไม่มีสิทธิครอบครอง
โฉนดนี้จะไม่มีรูปถ่ายทางอากาศ ไม่มีการวัดพื้นที่ละเอียด
หรือเรียกง่ายๆ คือโฉนดประเภทนี้ขาดความถูกต้องของขอบเขตที่ดินสามารถซื้อขายได้เลย
ผู้ครอบครองโฉนดนี้สามารถยื่นขอเปลี่ยนโฉนดตราครุฑดำเป็นโฉนดนส.4 ได้
แต่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้ามาทำการรังวัดและติดประกาศเป็นระยะเวลา 30 วัน
ถ้าไม่มีใครยื่นเรื่องขอคัดค้าน จึงจะสามารถทำเรื่องขอออกโฉนดได้
- เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 หรือตราครุฑสีน้ำเงิน
เป็นเอกสารที่ออกให้เจ้าของมีสิทธิในการทำ “เกษตรกรรม” บนที่ดินนั้น ไม่สามารถซื้อขายได้
แต่สามารถแบ่งตกทอดเป็นมรดกสู่ทายากต่อไปได้และทายาทก็จะต้องทำเกษตรกรรมบนที่ดินนั้นเท่านั้น
สามารถจำนองได้เฉพาะที่เป็นโครงการของรัฐ หากผู้ครอบครองทำผิดเงื่อนไข รัฐสามารถยืดคืนได้
- ใบจอง หรือ นส. 2
เป็นเอกสารสิทธิ์ที่ทางราชการออกให้แก่ประชาชนแบบชั่วคราวเป็นระยะเวลา 3 ปี
ซึ่งผู้ที่มีใบจองจะสามารถทำประโยชน์ในที่ดินได้เกิน 75% ของที่ดิน
ก่อนจะครบกำหนดส่งคืน ไม่สามารถซื้อขาย โอน จดจำนองได้ ยกเว้นยกมอบเป็นมรดกแก่ทายากโดยตรง
- ที่ดิน ภ.ท.บ.5 หรือบำรุงภาษีท้องที่
เป็นใบชำระภาษีบำรุงภาษีท้องที่ของผู้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่มาแต่เดิม
ซึ่งที่ดินนี้เป็นของรัฐ ผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้จะต้องชำระภาษีให้กับภาครัฐ
ไม่มีสิทธิครอบครอง ไม่สามารถซื้อ ขาย หรือโอนให้กันได้
แต่สามารถตกทอดเป็นมรดกให้กับทายาทได้
- สิทธิที่ดินทำกิน หรือ สทก.
เป็นหนังสือที่กรมป่าไม้ออกให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการทำกินบนพื้นที่ป่าไม้
ไม่สามารถซื้อขายหรือโอนให้กันได้ แต่สามารถตกทอดเป็นมรดกให้แก่ทายากได้
หากเจ้าของสิทธิปล่อยที่ดินรกร้างติดต่อกันเกิน 2 ปี อาจถูกยึดคืนได้
สรุปแล้ว การจะซื้อขายที่ดินจะต้องดูว่าโฉนดที่เรามีอยู่ เป็นโฉนดประเภทไหน มีไว้เพื่ออะไร
เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องกรรมสิทธิและนำไปสู่การฟ้องร้องที่หลังมาได้ค่ะ
—————————————————————————————–
หากๆ เพื่อยังมีข้อสงสัย ทีม Landthaimart ยินดีให้คำปรึกษา
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
inbox : m.me/105963835437530
Line@ : https://lin.ee/Nxmbdbc
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://landthaimart.com/articles/
#LandThaiMarket #รับซื้อที่ดินอย่างมืออาชีพ #LandThaiMarket
#ที่ดิน #ที่ดินทำเลสวย #จำนองที่ดิน #ที่ดินแลกเงิน #รับซื้อที่ดิน
#อสังหาทรัพย์ #ลงทุนอสังหา #ตลาดที่ดิน #บ้านที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน
#ที่ดินราคาถูก #ที่ดินกรุงเทพ #นายหน้าที่ดิน #ที่ดินใกล้กรุงเทพ #ต้องการที่ดิน