เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นหลังจากการสูญเสีย เพราะเมื่อการสูญเสียผ่านไปจะต้องมีการจัดสรร “มรดก”
สำหรับผู้ที่ได้รับมรดกบางคนอาจจะยินดีและดีใจที่ได้รับ แต่ๆๆๆอย่ามัวแต่ดีใจกันไปนะคะ
เพราะเมื่อได้รับมรดกมาแล้ว นั่นหมายถึงการตามมาด้วยการจัดการต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งแม้จะได้รับตกทอดมาฟรีๆ แต่ก็ยังมีค่าภาษีที่ผู้รับจำเป็นต้องจ่ายและหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาษีมรดกจริงๆ แล้วมีหลายประเภทแต่ วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ภาษีมรดกที่ดิน” กันค่ะ
เราจะไปดูกันว่าเมื่อได้รับมรดกที่เป็น “อสังหาริมทรัพย์” จะต้องจัดการอย่างไร
และต้องทำอย่างไรเราถึงจะได้ครอบครอง ที่ดินนั้นอย่างชอบธรรมและถูกต้องตามหลักกฎหมาย ไปดูกันเลยค่ะ
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยค่ะว่า อะไรบ้างที่ถูกนับเป็น ภาษีมรดกที่ดินเพื่อที่จะแยกประเภทได้ถูกต้อง
ภาษีมรดกที่ดินจะนับจากมรดกประเภท อสังหาริมทรัพย์
ได้แก่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ
ขั้นตอนในการจัดการมรดกที่ดิน
แน่นอนว่าเมื่อมีการจัดสรรมรดกเรียบร้อยแล้ว ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีการ “โอนที่ดินมรดก”
สำหรับค่าธรรมเนียมในการโอนจะมีแตกต่างกันอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. ที่ดินมรดกที่ยกให้ลูกตามกฎหมาย บิดามารดา และสามีภรรยาที่จดทะเบียน รวมถึงผู้สืบสายเลือดโดยตรง
กรณีนี้จะเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนในอัตราที่ต่ำที่สุด โดยเสียเพียง 0.5% ของราคาประเมิน
2. ที่ดินมรดกที่ยกให้ญาติพี่น้อง บุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่น ที่ได้รับมรดกที่ดินที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
กรณีนี้จะเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนในอัตรา 2.0% ของราคาประเมิน
ซึ่งการโอนสิทธิ์ตรงนี้จะเสียเพียงแค่ค่าธรรมเนียมการโอนเท่านั้น
ยกเว้น มรดกที่ได้มาจะมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท จะต้องมีการเสียภาษีมรดกเพิ่มด้วย
โดยจะเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาทเท่านั้น โดยจะแบ่งอัตราค่าเก็บภาษีมรดกเป็น
– ผู้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
– ผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสายเลือด จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 5%
– ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 10%
ขั้นตอนการคำนวณภาษีมรดก
ขั้นที่ 1 มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
ขั้นที่ 2 มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีมรดก = ภาษีมรดก
ตัวอย่าง นาย A เป็นลูกชายของเจ้าของมรดกได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ
จะมีการคำนวณดังนี้ 150,000,000 – 100,000,000 = 50,000,000 บาท
เท่ากับ 50,000,000 x 5% = 2,500,000 บาท
นาย A จะต้องเสียภาษีมรดกทั้งหมด 2,500,000 บาท
และในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากนาย A จะเสียค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 0.5% เนื่องจากเป็นผู้สืบสายเลือดโดยตรง
จะเสียค่าธรรมเนียมการโอนที่อัตราคงที่ 0.5% ดังนั้นจะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้
ดังนั้น หากราคาประเมินอยู่ที่ 150,000,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้
150,000,000 x 0.5% = 750,000 บาท
สรุปภาษีและค่าธรรมเนียมที่นาย A จะต้องชำระคือ 2,500,000 + 750,000 = 3,250,000 บาท
จะเห็นได้ว่า ภาษีมรดกเป็นจำนวนเงินไม่ใช่น้อย ผู้รับมรดกหลายคนจึงไม่สามารถจ่ายภาษีได้เต็มจำนวน
กฎหมายจึงอนุโลมให้ผู้ได้รับมรดกยื่นเรื่องผ่อนชำระการจ่ายภาษีมรดกได้สูงสุดถึง 5 ปี
และถ้าสามารถจ่ายภาษีจนหมดภายในเวลา 2 ปี จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกด้วย
นี่เป็นเพียงความรู้ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับภาษีมรดก ประเภท “ภาษีมรดกที่ดิน”
ซึ่งยังมีข้อมูลอีกมากพร้อมรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรจะศึกษาไว้
จะได้จัดการได้ถูกต้องและชอบธรรมและลดปัญหาที่จะตามมาได้ด้วยนะคะ
สนใจลงทุนที่ดิน ซื้อ-ขายที่ดิน เช่าระยะยาวเพื่อทำโรงงานและคลังสินค้า
ฝากทรัพย์ หรือลงทะเบียนซื้อทรัพย์ ได้ที่ https://landthaimart.com/
#ทีมLandThaiMart เรามีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษาอยู่ค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
inbox : m.me/105963835437530
Line@ : https://lin.ee/Nxmbdbc
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://landthaimart.com/articles/
#LandThaiMarket #รับซื้อที่ดินอย่างมืออาชีพ #LandThaiMarket
#ที่ดิน #ที่ดินทำเลสวย #จำนองที่ดิน #ที่ดินแลกเงิน #รับซื้อที่ดิน
#อสังหาทรัพย์ #ลงทุนอสังหา #ตลาดที่ดิน #บ้านที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน
#ที่ดินราคาถูก #ที่ดินกรุงเทพ #นายหน้าที่ดิน #ที่ดินใกล้กรุงเทพ #ต้องการที่ดิน