มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี คนรุ่นเก่าๆ จึงมักชอบซื้อที่ดินเก็บไว้หลายๆ แปลง
ไม่ว่าจะซื้อไว้ลงทุนหรือซื้อไว้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินจึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆ ครอบครัวส่งต่อสืบทอดกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น
บางคนอาจจะยินดีและดีใจที่ได้รับ แต่ๆๆๆ อย่ามัวแต่ดีใจกันไปนะคะ เพราะเมื่อได้รับมรดกมาแล้ว
นั่นหมายถึงการตามมาด้วยการจัดการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย  การแบ่งมรดกที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด
ลองมาดูกันว่า การรับ มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง? 

การรับ มรดกที่ดิน คือ

เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป
ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้

สิทธิได้รับมรดกที่ดินจะตกเป็นของใครบ้าง

ทางกฎหมายผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ

  1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่า ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม
    หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมส่งต่อมรดกที่ดินนั้นโดยระบุชื่อผู้สืบทอดไว้ชัดเจนตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
  2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ได้รับแบ่งมรดกที่ดินต้องเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม
    เมื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้ที่มีสิทธิในการรับมรดกที่ดินจะเป็นไปตามกฎหมายมรดกที่ดินที่มีการลำดับทายาท
    โดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมไว้ดังนี้
  3. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
  4. ภรรยาหรือสามี (ต้องจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
  5. บิดาและมารดา
  6. พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
  7. พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
  8. ปู่ย่า ตายาย
  9. ลุง ป้า น้า อา

หลักฐานที่ต้องเตรียมไปประกอบการขอรับมรดก

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัว
  • ทะเบียนบ้าน
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
  • กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
  • ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

 

ซึ่งการโอนสิทธิตรงนี้จะเสียเพียงแค่ค่าธรรมเนียมการโอนเท่านั้น

ยกเว้น มรดกที่ได้มาจะมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท จะต้องมีการเสียภาษีมรดกเพิ่มด้วย

โดยจะเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาทเท่านั้น โดยจะแบ่งอัตราค่าเก็บภาษีมรดกเป็น

– ผู้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก

– ผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสายเลือด จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 5%

– ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 10%

 

ขั้นตอนการคำนวณภาษีมรดก

ขั้นที่ 1 มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี

ขั้นที่ 2 มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีมรดก = ภาษีมรดก

 

ตัวอย่าง นาย A เป็นลูกชายของเจ้าของมรดกได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ

จะมีการคำนวณดังนี้ 150,000,000 – 100,000,000 = 50,000,000 บาท

เท่ากับ 50,000,000 x 5% = 2,500,000 บาท

นาย A จะต้องเสียภาษีมรดกทั้งหมด 2,500,000 บาท

และในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากนาย A จะเสียค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 0.5% เนื่องจากเป็นผู้สืบสายเลือดโดยตรง

จะเสียค่าธรรมเนียมการโอนที่อัตราคงที่ 0.5% ดังนั้นจะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้

ดังนั้น หากราคาประเมินอยู่ที่ 150,000,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้

150,000,000 x 0.5% = 750,000 บาท

สรุปภาษีและค่าธรรมเนียมที่นาย A จะต้องชำระคือ 2,500,000 + 750,000 = 3,250,000 บาท

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับการรับมรดกที่ดิน หวังว่าเพื่อน ๆ จะทำทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมายการรับมรดกที่ดิน
ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมในการรักษาสิทฺธิให้ตัวเพื่อน ๆ หรือคนในครอบครัว
จะได้ดำเนินการถูกต้องและไม่เกิดปัญหาในการดำเนินธุรกรรม

มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

——————————————————————————————

หากๆ เพื่อยังมีข้อสงสัย ทีม Landthaimart ยินดีให้คำปรึกษา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

inbox : m.me/105963835437530

Line@ : https://lin.ee/Nxmbdbc

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://landthaimart.com/articles/

#LandThaiMarket #รับซื้อที่ดินอย่างมืออาชีพ  #LandThaiMarket

#ที่ดิน #ที่ดินทำเลสวย #จำนองที่ดิน #ที่ดินแลกเงิน #รับซื้อที่ดิน

#อสังหาทรัพย์ #ลงทุนอสังหา #ตลาดที่ดิน #บ้านที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน

#ที่ดินราคาถูก #ที่ดินกรุงเทพ #นายหน้าที่ดิน #ที่ดินใกล้กรุงเทพ  #ต้องการที่ดิน